หน่วยที่ 3


หน่วยที่ 3 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
 
-
ความหมายรูปแบบและชนิดของการสื่อสาร
1.  ความหมายของการติดต่อสื่อสาร 

                ได้มีผู้ให้ความหมายของการติดต่อสื่อสาร  ดังนี้

ผู้ให้ความหมาย
ความหมายของการติดต่อสื่อสาร
Halloran  (1978 : 27)
กระบวนการถ่ายทอดข่าวสารและความเข้าใจจากคนหนึ่งหรือหลายคนไปยังอีกคนหนึ่งหรือหลาคน
อาคม  วัดไธสง (2547 : 98)
กระบวนการถ่ายทอดข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง  หรือจากกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง  ซึ่งการถ่ายทอดอาจใช้ภาษาพูด  ภาษาเขียน หรือสัญลักษณ์อื่นๆ ที่สามารถทำให้เข้าใจข่าวสารได้ตรงกัน



                จากความหมายที่กล่าวมา สรุปได้ว่า การติดต่อสื่อสาร  หมายถึง




2.  ความสำคัญของการติดต่อสื่อสาร 

                การติดต่อสื่อสารมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้
                1.  ทำให้บุคลากรทราบนโยบาย  พันธกิจ  วิสัยทัศน์  วัตถุประสงค์  และมาตรฐานของสถานศึกษา เพราะผู้บริหารต้องถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ให้บุคลากรเข้าใจ  เพื่อให้การบริหารสถานศึกษาบรรลุเป้าหมาย
                2.  ทำให้บุคลากรทราบบทบาทและหน้าที่ของตน  โดยผู้บริหารจะต้องมอบหมายงานให้บุคลากรอย่างชัดเจน
                3.  ทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายหลักของสถานศึกษาได้ เพราะผู้บริหารจะต้องสอนและแนะนำวิธีการทำงานให้บุคลากรแต่ละคนได้เข้าใจการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตน
                4.  ช่วยเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร เพราะผู้บริหารจะคอยกระตุ้นจูงใจด้วยการยกย่องชมเชย และเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอยู่เสมอ
                5. ช่วยให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งในส่วนที่ก้าวหน้าและที่เป็นปัญหา ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษานำมาปรับปรุงการบริหารงานของตนได้
                6.  ช่วยให้เกิดการร่วมมือร่วมใจกับชุมชนในการจัดการศึกษา
                7.  สร้างบรรยากาศแห่งความอบอุ่น เป็นมิตร เป็นกันเอง เกิดความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงาน
                8.  ทำให้บุคลากรในระดับเดียวกัน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานของแต่ละคนหรือของแต่ละฝ่าย ทำให้ทราบวิธีการทำงานและปัญหาของกันและกัน ก่อให้เกิดผลทางสังคมวิทยาและทางจิตวิทยา
                9.  ทำให้บุคลากรยึดเป้าหมายของสถานศึกษาเป็นหลักในการทำงาน
                10. ส่งเสริมกระบวนการทำงานเป็นทีม
                11.  ทำให้ผู้บริหารสามารถเจรจาต่อรองกับฝ่ายต่างๆ และองค์กรภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                12. ทำให้ประหยัดทรัพยากรในการบริหาร

3.  กระบวนการติดต่อสื่อสาร 

                ร็อบบินส์  และคูลตาร์ (Robbins and Coultar.  1996 : 611-613)  ได้กล่าวถึงองค์ประกอบกระบวนการติดต่อสื่อสารไว้ 7 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้ส่งข่าวสาร (sender)  2) ข่าวสาร (message)  3) การเข้ารหัส (encodes)  4) ช่องทางส่งข่าวสาร (channel)  5) การแปลความหมายหรือการถอดรหัส (decodes)  6) ผู้รับข่าวสาร (receiver)  และ 7) การส่งข้อมูลป้อนกลับ  (feedback)  ดังแสดงในภาพที่ 6.1







ภาพที่  6.1  กระบวนการติดต่อสื่อสาร

                จากภาพที่ 6.1  สามารถอธิบายได้  ดังนี้
                1.  ผู้ส่งข่าวสาร  ผู้ส่งข่างสารอาจเป็นคนหนึ่งหรือกลุ่มที่ต้องการสื่อสารไปยังผู้อื่น เช่น การถ่ายทอดนโยบาย การแนะนำ  การสอนงาน  หรือการกระตุ้นจูงใจให้ทำงาน  ผู้ส่งข่างสารจะต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าตนจะสื่อสารอะไร  ไปให้ใคร  เพื่อเป้าหมายใด  และใช้ช่องทางการสื่อสารแบบใด
                2.  ข่าวสาร  ข่างสารได้แก่  สิ่งที่ผู้ส่งข่าวสารต้องการถ่ายทอดให้ผู้รับข่างสารรับรู้ อาจเป็นนโยบาย  การแนะนำ  การสอนงาน  การกระตุ้นจูงใจ หรืออื่น ๆ
                3.  การเข้ารหัส  การเข้ารหัสหรือการแปลความหมายของข่าวสารที่จะส่ง ผู้บริหารจะต้องแปลความคิดของตนให้เป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายและให้ผู้รับเข้าใจ ซึ่งอาจเป็นการพูดการเขียน หรืออย่างอื่น ที่ไม่ใช่การพูดหรืออาจใช้ผสมผสานกัน ข่าวสารที่แปลความหมายจะต้องกะทัดรัดชัดเจน มีสาระและถูกต้อง หลังจากนั้นผู้ส่งข่าวสารจะต้องเลือกช่องทางส่งข่าวสารให้เหมาะสม
                4.  ช่องทางส่งข่างสาร  หลักจากผู้ส่งข่าวสารได้เตรียมข่าวสารดีแล้วก็ต้องเอกช่องทางให้เหมาะสมกับจุดประสงค์หรือชนิดของข่าวสาร รวมทั้งพิจารณาสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ประกอบผู้บริหารสถานศึกษาต้องใช้ช่องทางการสื่อสารหลายทางผสมผสานกันไป เช่น  การประชุมแบบเผชิญหน้า จดหมายข่าว บันทึกความจำ  คำสั่ง อีเมล  แฟกส์  โทรศัพท์  หรืออื่นๆ  การเลือกช่องทางการส่งข่าวสารมีความสำคัญต่อผลการส่งข่างสารอย่างยิ่ง  ผู้บริหารสถานศึกษาจะส่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนโยบาย วิสัยทัศน์  ก็อาจใช้การประชุม  ถ้าต้องการกระตุ้นการทำงานก็อาจเดินตรวจเยี่ยม เป็นต้น
                5.  การแปลความหมายหรือถอดรหัส  ผู้รับข่าวสารจะต้องแปลความหมายของข่าวสารที่ส่งมา ซึ่งผู้รับข่าวสารจะต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์  ทักษะและความสัมพันธ์ของเขาที่มีกับผู้ส่งข่าวด้วย นอกจากนี้ การแปลความหมายของข่าวสารอาจจะได้รับอิทธิพลจากเพื่อน หรือผู้บังคับบัญชาบางคน
                6.  ผู้รับข่าวสาร ซึ่งได้แก่ ผู้ฟัง ผู้อ่าน หรือผู้รับสัญญาณต่าง ๆ ผู้รับข่าวสารอาจจะเป็นคนเดียวหรือกลุ่มก็ได้ ผู้บริหารจะต้องเข้าใจลักษณะของผู้รับข่าวสารแต่ละคน หรือลักษณะของกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความสามารถ นิสัยใจคอ วัฒนธรรมหรือความคาดหวัง เพื่อจะได้สื่อสารให้ผู้รับข่าวสารเข้าใจได้
                7.  การส่งข้อมูลป้อนกลับ  สิ่งที่ผู้รับข่าวสารระมัดระวังหรือกังวลใจในการรับส่งข่าวสารก็คือช่องว่างระหว่างความเข้าใจของผู้รับกับผู้ส่งข่าว เพื่อแก้ไขให้เข้าใจข่าวสารตรงกันก็โดยอาศัยการให้ข้อมูลป้อนกลับโดยผู้รับข่าวสารซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะทำให้การสื่อสารมีคุณภาพ แต่อย่างไรก็ตามผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย พร้อมที่จะรับฟังข้อท้วงติงจากผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความสุภาพ  ปราศจากการใช้อารมณ์ เพื่อที่จะปรับปรุงการติดต่อสื่อสารของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ


4.  รูปแบบการติดต่อสื่อสาร 

                การจำแนกรูปแบบของการติดต่อสื่อสาร แบ่งได้หลายลักษณะ ดังนี้
                1.  การติดต่อสื่อสารแบบเป็นทางการ และแบบไม่เป็นทางการ
                        1.1 การติดต่อสื่อสารแบบเป็นทางการ (formal communication)  เป็นการติดต่อ สื่อสารที่กระทำผ่านสายบังคับบัญชาตามลำดับขั้นตอน ซึ่งการติดต่อสื่อสารแบบนี้ผู้มีอำนาจตามตำแหน่งสามารถสั่งการผู้ใต้บังคับบัญชาตามขอบเขตอำนาจที่เขามีอยู่ การติดต่อสื่อสารแบบทางการจะใช้แจ้งนโยบาย วิธีการดำเนินงาน และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา
                        1.2  การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ (informal communication)  เป็นการติดต่อ สื่อสารที่ไม่อยู่ในสายบังคับบัญชาตามลำดับขั้นตอน การติดต่อสื่อสารแบบนี้จะมีอยู่ทุกองค์การซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อเสริมการสื่อสารแบบเป็นทางการ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การติดต่อสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการจะใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือใช้ความสนิทสนมส่วนตัวในการติดต่อประสานกันก่อนที่จะตามด้วยการติดต่ออย่างเป็นทางการ การติดต่อสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการช่วยให้การบริหารองค์การมีประสิทธิภาพ ดังที่ ปิเตอร์ และวอเตอร์แมน (Peters and Waterman. 1983 : 122) กล่าวไว้ว่า องค์การที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการคือองค์การที่ใช้การติดต่อสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ มีจุดอ่อนตรงที่ข้อมูลที่เป็นส่วนตัวจะถูกกระจายอย่างรวดเร็วก็อาจเกิดผลกระทบต่อองค์การ ดังนั้นผู้บริหารคงต้องระมัดระวังจุดอ่อนนี้ด้วย
                2.  การติดต่อสื่อสารแบบ 3 ทาง
                        2.1  การติดต่อสื่อสารจากบนลงมาล่าง (downward communication) เป็นแบบการติดต่อ สื่อสารที่นิยมใช้กันในองค์การมานาน การติดต่อสื่อสารแบบนี้เป็นการถ่ายทอดนโยบายวัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์การทำงาน แนวทางปฏิบัติงาน กฎระเบียบ  ข้อบังคับ คำสั่ง วิธีการทำงาน รายงานประจำปี  และข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ ถือเป็นการติดต่อสื่อสารที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การ
                                การติดต่อสื่อสารจากบนลงมาล่างจะต้องอาศัยช่องทางการติดต่อสื่อสารหลายทางผสมผสานกัน เช่นจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน จดหมายข่าว ป้ายประกาศ  รายงานประจำปี เสียงตามสาย สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ การแจ้งด้วยปากเปล่า  เช่น คำสั่ง คำชี้แจง การกล่าวสุนทรพจน์ การประชุม โทรทัศน์วงจรปิด โทรทัศน์หรือโทรศัพท์  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น   แฟกส์  อีเมล  ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสถานศึกษาของตน
                                เนื่องจากการติดต่อสื่อสารแบบลงมาล่างเป็นแบบที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะใช้ตามแบบผู้นำของตน ถ้าเป็นผู้นำแบบประชาธิปไตย ก็ไม่มีปัญหา ถ้าหากผู้บริหารเป็นผู้นำแบบอัตตาธิปไตย การติดต่อสื่อสารแบบนี้จะมีจุดอ่อนทันที ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาควรปรับปรุงการสื่อสารแบบนี้ให้เกิดประสิทธิภาพ ดังที่ โรเบิรทส์ (Roberts. 197: 368-371)  เสนอไว้ ดังนี้     1) ต้องทำให้ผู้รับข่างสารแต่ละระดับมีการต่อต้านน้อย  2) ข่าวสารที่จะถ่ายทอดไปต้องสอดคล้องกับความเชื่อและคุณค่าของผู้รับ  3)  ควรระมัดระวังในการถ่ายทอดข่าวสารที่ขัดต่อค่านิยมของผู้รับ  4) ต้องเป็นข่าวสารที่สนองความต้องการของผู้รับ  5) ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ สมาชิกจะเปิดใจกว้างในการรับข่าวสาร  และ 6) ข้อมูลข่าวสารที่มีผลทางบวกในสถานการณ์หนึ่งอาจไม่มีผลทางบวกในอีกสถานการณ์หนึ่ง ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องใช้ความคิดพิจารณาเป็นเรื่องๆไป
                        2.2  การติดต่อสื่อสารจากล่างขึ้นบน (upward communication)  การติดต่อสื่อสารแบบนี้ก็มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การเช่นเดียวกับการติดต่อสื่อสารแบบบนลงมาล่างการติดต่อสื่อสารแบบล่างขึ้นบนมีจุดประสงค์หลายอย่าง ได้แก่ การออกความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการปรับปรุงการทำงาน การร้องทุกข์เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ การแสดงความรู้สึกต่อองค์การ และงานที่ทำ การบอกกล่าวความต้องการ การซักถามต่างๆ และการรายงานการปฏิบัติงาน เป็นต้น
                                การติดต่อสื่อสารแบบล่างขึ้นบนเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาอย่างมากที่จะได้ข้อมูลจากบุคลากรทั้งในสถานศึกษาและชุมชน เพื่อนำมาปรับปรุงการบริหารงานของตน  ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเปิดใจกว้างรับฟังข้อมูลทุกอย่างจากทุกฝ่าย โดยต้องยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ซึ่งจะมีผลต่อความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรและชุมชน
                                ลูแทนส์ (Luthans.  1995 : 431)  ได้เสนอแนะการปรับปรุงการติดต่อสื่อสารแบบล่างขึ้นบนให้มีประสิทธิภาพไว้  ดังนี้  1) จัดให้มีกระบวนการร้องทุกข์  โดยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกรรมการ  2)  ใช้นโยบายเปิดกว้าง โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรพบได้ทุกโอกาส หรือไม่ก็เชิญมาพูดคุยถึงปัญหาต่างๆ แต่ทั้งนี้ผู้บริหารจะต้องทำด้วยความจริงใจ  3) จัดให้มีการพบปะให้คำปรึกษา ซักถาม หรือสัมภาษณ์  4) ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีตู้รับปัญหา หรือระบบ Q.C.  และ 5) จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์
                                2.3  การติดต่อสื่อสารตามแนวนอน (horizontal communication)  การติดต่อ สื่อสารแบบนี้ เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลระดับเดียวกัน เช่น การติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับครู หัวหน้าสายกับหัวหน้าสาย หรือหัวหน้าฝ่ายกับหัวหน้าฝ่าย การติดต่อสื่อสารก็เป็นเรื่องปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา ความต้องการ ข้อเสนอแนะ หรือข้อมูลป้อนกลับ องค์การโดยทั่วไปจะให้ความสำคัญเฉพาะการติดต่อสื่อสารตามแนวตั้ง อย่างไรก็ตามยังมีนักทฤษฎีบางคนเห็นความสำคัญการติดต่อสื่อสารตามแนวนอนโดยนำไปใช้ส่งเสริมสนับสนุนการสื่อสารตามแนวตั้ง อย่างเช่น ฟาโยล์ ได้ใช้หลัก Gangplank เพื่อให้บุคคลระดับเดียวกันได้ติดต่อสื่อสารกันตามแนวนอน (Luthans.  1995 : 433) ซึ่งการติดต่อสื่อสารลักษณะนี้ มีความจำเป็นต่อการประสานงานในองค์การเพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะองค์การขนาดใหญ่มีความสลับซับซ้อน เช่น สถานศึกษาขนาดใหญ่และขนาดกลาง

5.  วิธีการติดต่อสื่อสาร 

                ร็อบบินส์และคูลตาร์ (Robbins and Coultar.  1996 : 613-615) ได้กล่าวถึงวิธีการติดต่อสื่อสารไว้ 4 วิธี
                1.  การติดต่อสื่อสารโดยใช้คำพูด (oral  communication)  เป็นการติดต่อสื่อสารที่คนทั่วไปนิยมใช้กัน ซึ่งรูปแบบการใช้คำพูดที่นิยมกัน เช่น การกล่าวสุนทรพจน์  การพูดคุยกันตัวต่อตัว การอภิปรายกลุ่ม การอภิปรายอย่างไม่เป็นทางการ หรือการส่งข่าวลือ เป็นต้น การใช้คำพูดในการติดต่อสื่อสารมีทั้งข้อดี และข้อจำกัด ดังนี้
                        ข้อดีของการติดต่อสื่อสารโดยใช้คำพูด  ได้แก่
                        1)  ถ่ายทอดข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา
                        2)  ใช้ข้อมูลป้อนกลับได้รวดเร็ว
                        3)  ถ้าการติดต่อสื่อสารไม่เข้าใจ ผู้ส่งข่าวสารทบทวนได้
                        4)  มีประสิทธิภาพสามารถใช้สีหน้าท่าทางและอารมณ์ประกอบ
                        ข้อจำกัดของการติดต่อสื่อสารโดยใช้คำพูด ได้แก่
                        1)  ข้อมูลข่างสารถูกดัดแปลงได้ง่ายในกรณีถ่ายทอดไปยังหลายคนหลายกลุ่ม
                        2)  ไม่เหมาะที่จะใช้กับเรื่องสำคัญ
                        3)  ไม่เหมาะที่จะใช้กับเรื่องสลับซับซ้อนและมีรายละเอียดมาก
                        4)  ไม่เหมาะที่จะส่งข่าวสารไปยังผู้อยู่ห่างไกล
                        5)  ไม่มีเวลาพินิจพิจารณาข่าวสาร
               
                2.  การติดต่อสื่อสารโดยใช้ภาษาเขียน (written  communication) เป็นการสื่อสารโดยใช้จดหมาย บันทึกข้อความจำ วารสารของหน่วยงาน ป้ายประกาศ คำสั่งและอื่นๆ ที่จำเป็นต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร การสื่อสารแบบนี้มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ดังนี้
                        ข้อดีของการติดต่อสื่อสารโดยใช้ภาษาเขียน  ได้แก่
                        1)  มีความมั่นคงเก็บได้นาน
                        2)  ใช้อ้างอิงและสามารถตรวจสอบได้
                        3)  ผู้ส่งข่าวสารมีเวลาพินิจพิจารณาข้อมูลข่าวสารได้ถี่ถ้วน
                        4)  เหมาะกับเรื่องสลับซับซ้อนมีรายละเอียดมาก
                        5)  เป็นการสื่อสารความคิดที่ดีแล้ว มีเหตุผลและชัดเจน
                        6)  เหมาะสมกับการติดต่อสื่อสารกับคนหลายคนที่อยู่ไกล
                        ข้อจำกัดของการติดต่อสื่อสารโดยใช้ภาษาเขียน  ได้แก่
                        1)  เสียเวลามาก
                        2)  ขาดข้อมูลป้อนกลับ ไม่ทราบความเข้าใจของผู้รับ
                        3)  ขาดแรงสนับสนุนทางด้านสังคมวิทยาและจิตวิทยา
               
                3.  การติดต่อสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด (nonverbal communication)  เป็นการติดต่อสื่อสารที่มีความหมายมากอีกวิธีหนึ่ง เช่น ถ้าเราได้ยินเสียงไซเลนส์ เรารู้ว่าอะไรเกิดขึ้นโดยไม่ต้องพูด ถ้าครูที่สอนนักเรียนจำนวนมาก เห็นเด็กเริ่มง่วงนอนแสดงว่าเด็กเบื่อ ถ้าเด็กเห็นครูเริ่มเก็บเอกสาร เด็กทราบทันทีว่ากำลังหมดคาบเรียน ถ้าเราเห็นขนาดของห้องทำงานใครบางคน หรือเสื้อผ้าที่เขาสวมใส่ก็สามารถบ่งบอกสถานะของเขาได้ การติดต่อสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูดรู้จักกันดีคือ ภาษากาย (body language) และน้ำเสียงการพูด (verbal intonation)
                        ภาษากาย (body language) หมายถึง การแสดงลักษณะต่าง ๆ เช่น การแสดงสีหน้าหรือการแสดงท่าทางส่วนอื่นของร่างกาย ตัวอย่างเช่น การทำหน้าย่น ยิ้ม การเคลื่อนไหวมือหรือการแสดงสีหน้าอื่น ๆ จะบ่งบอกถึงความรู้สึก อารมณ์ อย่างเช่น ความก้าวร้าว กลัว อาย หยิ่ง มีความสุข และโกรธ
                        น้ำเสียงการพูด (verbal intonation) หมายถึงการเน้นเสียงการพูดบางคำ หรือบางวลีคนจะมีปฏิกิริยาตอบกับน้ำเสียง พูดแตกต่างกัน ถ้าผู้พูดมีเสียงเรียบ สภาพคนฟังมีอารมณ์หนึ่ง แต่ถ้าพูดมีเสียงห้าว คนฟังจะเกิดอีกอารมณ์ เป็นความจริงอย่างหนึ่ง การติดต่อสื่อสารโดยใช้ภาษาพูดจะต้องมีที่ไม่ใช่ภาษาพูดปนอยู่ด้วยเสมอจากรายงานการวิจัยเรื่องหนึ่ง พบว่าการติดต่อสื่อสารด้วยภาษาพูดครั้งหนึ่ง จะเกิดการสื่อสารภาษากายและสีหน้าถึง 55 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากน้ำเสียง 38 เปอร์เซ็นต์ และเป็นภาษาจากคำพูดจริงๆ เพียง 7 เปอร์เซ็นต์
                        ดังนั้นการติดต่อสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด จึงมีความสำคัญต่อผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารควรฝึกปฏิบัติในการติดต่อสื่อสาร โดยไม่ใช้คำพูดให้เป็นนิสัยเพื่อจะใช้ให้เหมาะสมกับงานและสถานการณ์ แต่อย่างไรก็ตามการติดต่อสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด ก็มีทั้งข้อดีและข้อจำกัดดังนี้
                        ข้อดี  ได้แก่  สามารถสื่อความหมายได้ดี   สามารถสร้างอิทธิพลให้กับผู้ส่งสาร ไม่เสียเวลา
                        ข้อจำกัด  ได้แก่  อาจแปลความหมายผิด จึงต้องอาศัยความชำนาญทั้งผู้ส่งและผู้รับ

                4.  การติดต่อสื่อสารผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (electronic media communication) ปัจจุบันเราต้องติดต่อสื่อสารด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์วงจรปิด โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์หรือแฟกส์ และการติดต่อสื่อสารด้วยสื่อประเภทนี้ ที่ถือว่าสื่อได้เร็วที่สุดคือ อีเมล (electronic mail)  ซึ่งสามารถส่งข่าวสารไปยังบุคคลหลาย ๆ คนในเวลาเดียวกัน
                ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่จะต้องฝึกและเรียนรู้การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้การติดต่อสื่อสารด้วยวิธีนี้มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ดังนี้
                        ข้อดีของการติดต่อสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  ได้แก่
                        1)  สื่อสารได้รวดเร็ว
                        2)  ค่าใช้จ่ายน้อย
                        3)  มีความคงทนถาวร เก็บได้นาน
                        4)  สามารถใช้อ้างอิง
                        5)  ตรวจสอบได้
                        ข้อจำกัดของการติดต่อสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่
                        1)  ใช้เวลาในการเตรียมการ
                        2)  บางชนิดขาดการป้อนกลับ
                        3)  ขาดการส่งเสริมทางด้านสังคมวิทยาและจิตวิทยา

6อุปสรรคของกระบวนการติดต่อสื่อสาร 

                กอร์ตัน (Gorton. 1972 : 282-287) ได้กล่าวถึง อุปสรรคของการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารไว้ ดังนี้
                1.  ด้านผู้รับข่างสาร  ข่าวสารทุกข่าวที่ผู้บริหารส่งออกไปจะถูกแปลความหมายโดยผู้รับข่างสาร ซึ่งการแปลความหมายจะตรงกับผู้ส่งข่าวสารหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาพและลักษณะเฉพาะตัวของผู้รับข่างสาร ดังนี้
                        1.1  การขาดความสนใจ อาจเป็นเพราะทัศนคติที่มีต่อผู้ส่งข่าวสาร เนื้อหาข่างสารและประโยชน์ของข่างสาร
                        1.2  ขาดความรู้ ข่างสารทุกข่าวจะมีความมุ่งหมายและคำที่ใช้เฉพาะ ดังนั้นผู้รับข่างสารจะต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้นเพียงพอ
                        1.3  ความลำเอียงของผู้รับข่างสาร อันเกิดจากทัศนคติและค่านิยม ซึ่งทำให้การแปลความหมายของข่างสารผิดพลาด
                        1.4  อุปสรรคด้านสังคม ผู้รับมีพื้นฐานทางสังคมแตกต่างกันจะแปลความหมายของข่าวสารแตกต่างกัน พื้นฐานทางสังคม เช่น อายุ เพศ ตำแหน่ง และวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น ข่างสารอาจถูกแปลความหมายต่างกันระหว่างครูพละและครูทางสังคม ระหว่างครูเพศชายและครูเพศหญิง และระหว่างครูใหม่และครูที่มีประสบการณ์เป็นต้น
                        1.5  สถานการณ์ สถานการณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการติดต่อสื่อสาร เช่น มีสิ่งรบกวนใจไม่มีเวลาเพียงพอที่จะอ่านข่าวสารอย่างละเอียด หรือมีข่างสารมากเกินไป
                2.  ด้านตัวผู้ส่งข่าวสาร อุปสรรคที่ขัดขวางการติดต่อสื่อสารที่เกิดจากผู้ส่งข่าวสารได้แก่
                        2.1  ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญในข่าวสารที่จะส่ง
                        2.2  ขาดความเชื่อถือศรัทธาในตำแหน่ง
                        2.3  การเลือกวิธีการติดต่อสื่อสารไม่เหมาะสม
                        2.4  ใช้อารมณ์
                        2.5  ใช้คำไม่เหมาะสมกับผู้รับข่าวสาร
                        2.6  ขาดความตั้งใจในการติดต่อสื่อสาร
                        2.7  ขาดการลำดับเนื้อหาข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสม
                        2.8  ขาดการวิเคราะห์ธรรมชาติของผู้รับข่าวสาร

7.  การปรับปรุงการติดต่อสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ

                เพื่อให้การบริหารสถานศึกษาประสบความสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การและวัตถุประสงค์ของบุคลากร ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องปรับปรุงการติดต่อสื่อสารของตน  ดังนี้
                1.  สื่อสารสิ่งที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การและวัตถุประสงค์ของครู
                2.  ใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารให้เหมาะสมกับครูหรือบุคลากรแต่ละคน ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องเข้าใจพื้นฐานของครูหรือบุคลากรทุกคนหรือบุคลากร
                3.  ต้องคำนึงถึงความเชื่อและค่านิยมของครูหรือบุคลากร
                4.  ต้องฝึกฝนการติดต่อสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด ให้มีประสิทธิภาพ เช่น การแสดงสีหน้า ท่าทาง หรือสายตา
                5.  พยายามใช้ระดับเสียงที่แตกต่างกันให้เกิดประโยชน์
                6.  ควรใช้ภาษาง่ายๆที่คนทุกคนเข้าใจได้
                7.  สร้างบรรยากาศที่ดีให้เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
                8.  เปิดโอกาสให้ผู้รับข่าวสารซักถามได้
                9.  ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นผู้รับฟังที่ดี ฟังด้วยความตั้งใจ เพื่อจะได้เข้าใจครูหรือบุคลากรแต่ละคน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการบริหารงาน
                10.  การสื่อด้วยภาษาเขียนจะต้องเตรียมและตรวจสอบเป็นอย่างดีก่อนจะถ่ายทอดออกไป
                11.  ต้องควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาวะปกติทุกครั้ง ที่มีการติดต่อสื่อสาร
                12.  พยายามให้การติดต่อสื่อสารที่ใช้คำพูดและไม่ใช้คำพูดมีความหมายสอดคล้องกัน
                13.  ถ้าการสื่อสารครั้งใดผู้ฟังไม่เข้าใจควรถามซ้ำ
                14.  ต้องนำการติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการมาใช้บางกรณี
- องค์ประกอบ และ ช่องทางของการสื่อสาร
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือ แหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง

3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อ ความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าว สารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าว สารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การ รับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)
องค์ประกอบพื้นฐาน
1.             หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
2.             ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
3.             หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
1.             เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
2.             เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3.             เพื่อลดเวลาการทำงาน
4.             เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
5.             เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
6.             เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
- ทฤษฏีของการสื่อสาร
การสื่อสาร หรืออาจเรียกว่า การสื่อความหมาย คือการถ่ายทอด แลกเปลี่ยน ความรู้ ความคิด ระหว่างบุคคล เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องราวระหว่างกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่จะต้องมีอยู่เสมอในสังคมมนุษย์ การสื่อสารจึงมีความสำคัญทั้งในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล สังคม ธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม การเมืองการปกครอง และการศึกษา การสื่อสารมีพัฒนาการมายาวนานพร้อมๆ กับสังคมมนุษย์ นับตั้งแต่ยุคโบราณ ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม และยุคปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า เป็นยุคของการสื่อสาร เนื่องจากมีความก้าวหน้าในการสื่อสารอย่างสูง สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วทั่วถึงกันทั่วโลก
                  การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยมีองค์ประกอบต่างๆ คือ ข่าวสาร ผู้รับ และผู้ส่ง การเข้ารหัส ช่องทางการสื่อสาร การแปลรหัสข่าวสาร และพฤติกรรมหรือผลที่เกิดจากการสื่อสาร การสื่อสารที่ประสบผลสำเร็จสูง ต้องอาศัยคุณสมบัติของผู้รับและผู้ส่งหลายด้านประกอบกันคือ ความรู้ความสามารถทั่วไป มีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติที่ดี และเข้าใจพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม นอกจากนี้ยังต้องอาศัยปัจจัยด้าน สื่อและเทคนิคในการสื่อสารด้วย ประเภทของการสื่อสารที่สำคัญแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การสื่อสารส่วนบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล และการสื่อสารมวลชน เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร มีผู้ศึกษาและกำหนดทฤษฎีการสื่อสารไว้หลายทฤษฎี จำแนกเป็นกลุ่มที่สำคัญ คือ ทฤษฎีพฤติกรรมการถอดรหัสและการเข้ารหัส ทฤษฎีเชิงพฤติกรรม ทฤษฎีเชิงปฏิสัมพันธ์ ทฤษฎีเชิงบริบททางสังคม การอธิบายทฤษฎีการสื่อสาร อาศัยแบบจำลองที่นักวิชาการต่างๆ คิดขึ้น เช่น แบบจำลองของเบอร์โล แบบจำลองของลาสเวลล์ แบบจำลองของชแรมม์ เป็นต้น
- วิวัฒนาการของการสื่อสาร
วิวัฒนาการของการสื่อสารและเทคโนโลยี
      ในปัจจุบันนี้เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้สะดวกมาก แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ การสื่อสารได้มีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย ผู้เขียนจะกล่าวถึงวิวัฒนาการของการสื่อสารตั้งแต่ยุคแรกของมนุษย์ดังนี้ เชื่อกันว่าการสื่อสารระยะไกลของมนุษย์ในยุคแรกๆน่าจะเป็นการการตีเกราะ เคาะไม้ การส่งเสียงต่อเป็นทอดๆ และการส่งสัญญาณควัน

(1) การสื่อสารด้วยการตีกลองให้สัญญาณ

 (2) การส่งเสียงต่อเป็นทอดๆ

(3การสื่อสารด้วยสัญญาณควัน 

 (4การสื่อสารกันโดยการเขียนข้อความ  ในกระดาษแล้วผูกติดกับขานกพิลาบ
      ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักวิธีการเขียนหนังสือ ก็มีการคิดวิธีการสื่อสารกัน แบบใหม่โดยการฝากข้อความไปกับนกพิลาบ ดังรูปที่ (4) หรือการส่งข้อความไปกับม้าเร็ว

(5) การสื่อสารโดยใช้ม้าเร็ว ถือข้อความไปส่งตามหัวเมืองต่างๆ
รหัสมอร์ส
     ต่อมาเมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้  ก็เกิดการปฏิวัติการสื่อสารขึ้นโดยมนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเดินทางไปหากัน  ไม่ต้องตีเกราะเคาะไม้  ไม่ต้องส่งสัญญาณควัน ไม่ต้องใช้ม้าเร็ว ไม่ต้องใช้นกพิลาบ        เมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้การสื่อสารระยะไกลก็ได้มีการพัฒนาตามเทคโนโลยีใหม่  โดยแซมมวลมอร์ส นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นคนแรกที่คิดวิธีการสื่อสารสมัยใหม่(ในตอนนั้น)โดยการส่งสัญญาณไปตามสาย  มอร์สได้กำหนดรหัสขึ้นมาใช้ในการสื่อสาร  ด้วยการส่งกระแสไฟฟ้าให้ไหลไปตามสายไฟฟ้า  และกำหนดให้มีจังหวะของการไหลยาวบ้างสั้นบ้างเป็นจังหวะ    แล้วนัดหมายกับฝ่ายรับปลายทางว่ารหัสแต่ละตัวหมายถึงตัวอักษรตัวใด  เช่น  กระแสไฟฟ้าที่ไหลเป็นจังหวะ   ยาว - ยาว - สั้น หมายถึง  ตัวอักษร   “    เป็นต้น  การส่งสัญญาณในรูปรหัสนี้เรียกว่าการส่งโทรเลข  ท่านผู้อ่านที่มีอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป  คงเคยส่งโทรเลข  การส่งโทรเลขในยุคแรกๆเป็นการส่งข้อความในรูปของรหัส  สั้น-ยาว  ดังที่กล่าวไปแล้ว  รหัสที่ใช้ในการส่งโทรเลขเรียกว่ารหัสมอร์ส
     รหัสที่มอร์สกำหนดขึ้นมาโดยใช้สัญญาณเพียงสองลักษณะเท่านั้นคือสัญญาณไฟสั้นกับ ยาว  ซึ่งจะแทนด้วย  กับ  -   ( จุด  กับ ขีด ) จุดเกิดจากการกดคันเคาะในช่วงเวลาสั้นๆ  ส่วนขีดเกิดจากการกดคันเคาะแช่ไว้เป็นเวลาที่นานกว่า      มอร์สนำเอารหัสจุดกับขีดนี้มาผสมกันแล้วกำหนดเป็นรหัสสัญญาณโทรเลขของ ตัวอักษรต่างๆขึ้นมา  รหัสมอร์สของสัญญาณโทรเลขภาษาไทยเป็นดังรายละเอียดข้างล่างนี้

 (6) รหัสมอร์สภาษาไทย
ส่งโทรเลข
      ในการส่งโทรเลขจะต้องมีคนเคาะคันเคาะเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าในรูปของสัญญาณสั้น-ยาวสลับกันไปสัญญาณนี้จะวิ่งไปตามสายโทรเลข  ดูรูปคันเคาะสัญญาณโทรเลขจากรูปที่ (7)

 (7) คันเคาะสัญญาณโทรเลขแบบมอร์ส
     และในการส่งโทรเลข เจ้าหน้าที่ต้องจำรหัสของตัวอักษรและสระได้ทุกตัวอย่างเป็นอย่างดีจึงจะสามารถส่งโทรเลขได้ ดูรูปการส่งโทรเลขของพนักงานโทรเลขจากรูปที่ (8)

 (8) พนักงานโทรเลขกำลังเคาะคันเคาะเพื่อส่งโทรเลขด้วยรหัสมอร์ส
         ต่อมาได้มีการนำเอารหัสมอร์สนี้มาประยุกต์ใช้ในการส่งสัญญาณไฟ  โดยการเปิด-ปิดไฟเป็นจังหวะสั้น- ยาว  สลับกันไป  ถ้าเปิดไฟนาน  แสงจากดวงไฟจะเรียกว่าแสงวาบ  ถ้าเปิดไฟในช่วงเวลาสั้นๆ แสงไฟจะเรียกว่าแสงวับ
-  - .   
สัญญาณไฟจะอ่านว่า  วาบ  วาบ  วับ
แทนตัว   ก 
-  . - .    
วาบ  วับ  วาบ  วับ
แทนตัว   ข
-  . -   
วาบ วับ  วาบ
แทนตัว   ค
-  . - -  . 
วาบ  วับ วาบ  วาบ วับ
แทนตัว   ง
-  . .  - .  
วาบ  วับ วับ  วาบ  วับ
แทนตัว   จ
-  -  -  - 
วาบ  วาบ  วาบ วาบ
แทนตัว   ฉ

เครื่องโทรพิมพ์
         เนื่องจากการสื่อสารกันด้วยโทรเลขค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้ผู้ที่ชำนาญเป็น อย่างมากและใช้เวลาฝึกฝนเป็นปีจึงจะสามารถรับหรือส่งข้อความต่างๆได้ เนื่องจากผู้รับหรือส่งจะต้องจำรหัสให้ได้ทุกตัวตั้งแต่ ก ไก่ จนถึง ฮ นกฮูก และสระทุกตัว หรือถึงแม้เจ้าหน้าที่บางคนจะจำรหัสได้ทุกตัว แต่บางคนก็ไม่สามารถรับข้อความได้ เนื่องจากสัญญาณเหล่านี้จะมาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ถ้าไม่ชำนาญจะไม่สามารถรับข้อความเหล่านี้ได้ ต่อมาเมื่อวิทยาการก้าวหน้าขึ้น ได้มีการประดิษฐ์เครื่องโทรพิมพ์เพื่อทำหน้าที่ในการส่งและรับโทรเลขแทนคน เครื่องโทรพิมพ์นี้ก็ใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับโทรเลขแต่ผู้ใช้ไม่จำเป็น ต้องจำรหัสตัวอักษรต่างๆ ในการส่งโทรเลขด้วยเครื่องโทรพิมพ์ ผู้ส่งก็เพียงแต่พิมพ์ตัวอักษรที่ต้องการส่งลงไปในเครื่องโทรพิมพ์ เครื่องโทรพิมพ์ก็จะเจาะรูบนแถบกระดาษให้เป็นรหัสมอร์ส ดังรูปที่ (9) และรูปที่ (10)

(9) แถบรหัสมอร์สที่พิมพ์ด้วยเครื่องโทรพิมพ์

รูปที่ (10) เมื่อแถบกระดาษเจาะรูนี้เคลื่อนที่ผ่านเครื่องส่งโทรเลข
      ในการส่งโทรเลขด้วยเครื่องโทรพิมพ์ก็เพียงแต่นำแถบกระดาษที่เจาะรูแล้วดัง รูปที่ (9) หรือรูปที่ (10) นี้ ไปป้อนให้กับเครื่องส่งโทรพิมพ์ เครื่องส่งโทรพิมพ์ก็จะส่งเป็นสัญญาณโทรเลขออกไป เครื่องพิมพ์โทรพิมพ์มีลักษณะดังรูปที่ (11) ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเครื่องส่งโทรพิมพ์ก็คือเครื่องส่งโทรเลขที่ไม่ต้อง ใช้เจ้าหน้าที่เคาะคันเคาะเหมือนกับการส่งโทรเลขในรูปที่ (8)

 (11) เครื่องโทรพิมพ์สำหรับส่งโทรเลข
     ถ้าถามว่าการส่งสัญญาณด้วยรหัสมอร์สในปัจจุบันนี้ ยังมีการใช้อยู่หรือไม่ ท่านผู้อ่านคิดว่า ( „ มี „ อาจะมี „ ไม่มี ) ท่านผู้อ่านที่ตอบว่าไม่มี ผิดครับ !! ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆจะก้าวหน้าไปมาก แต่ในปัจจุบันการส่งสัญญาณด้วยรหัสมอร์สก็ยังมีการใช้อยู่ ตัวอย่างเช่นในทางทหารยังมีการติดต่อสื่อสารกันโดยใช้รหัสมอร์ส หรือสัญญาณไฟ เนื่องจากในยามฉุกเฉินหรือในยามสงคราม การสื่อสารในระบบอื่นๆอาจถูกตัดขาด การสื่อสารทางสัญญาณไฟหรือสัญญาณมอร์สก็จะถูกนำมาใช้แทนได้ หรือกล่าวง่ายๆว่า ถ้ามีการสื่อสารหลายรูปแบบย่อมจะดีกว่าที่จะมีการสื่อสารรูปแบบเดียว จากพัฒนาการของการสื่อสารจะสังเกตเห็นว่าการสื่อสารด้วยรหัสมอร์สก็พัฒนามา จากการสื่อสารด้วยสัญญาณควันหรือสัญญาณการตีเกราะเคาะไม้นั่นเอง แม้ว่าโทรเลขจะเป็นการสื่อสารที่รวดเร็วมากเพราะว่าส่งปั๊บก็ถึงปุ๊บ แต่การส่งโทรเลขก็ยังไม่ค่อยสะดวกเพราะว่าเป็นการส่งตัวอักษรทีละตัว และบ่อยครั้งที่ผู้รับแปลรหัสผิดและเกิดผลเสียหาย












โทรศัพท์
        ต่อมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถแปลงเสียงพูดให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าได้  อเล็กซานเดอร์  เกรแฮม  เบลล์ (Alexander  Graham Bel)  จึงได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นมา  และโทรศัพท์จะมีการเปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายโทรศัพท์    แล้วโทรศัพท์ปลายทางจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้านั้นกลับมาเป็นสัญญาณเสียงเหมือนเดิม   และเรียกการสื่อสารในลักษณะนี้ว่าโทรศัพท์แบบใช้สายหรือโทรศัพท์บ้าน 

 (12) เครื่องโทรศัพท์รุ่นแรกสร้างในประเทศญี่ปุ่น

(13) รูปโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
        ในตอนที่มีโทรศัพท์บ้านใหม่ๆ     ถือได้ว่าการสื่อสารแบบนี้เป็นการสื่อสารที่มีความสะดวกมาก    แต่เนื่องจากมนุษย์นี้มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด  เมื่อใช้โทรศัพท์บ้านไปนานๆคนก็เริ่มรู้สึกว่าโทรศัพท์บ้านนี้ไม่สะดวก   คุยโทรศัพท์แล้วจะเดินไปเดินมาก็ไม่ได้    หรือไปเที่ยว ป่า เขา ทะเล  ก็คุยกับเพื่อนไม่ได้   ต่อมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์พบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งสามารถเดินทางไปในที่ต่างๆได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง    จึงได้มีการประดิษฐ์โทรศัพท์ไร้สายขึ้น    แล้วคนไทยได้ตั้งชื่อโทรศัพท์แบบนี้ว่าโทรศัพท์มือถือ   ชื่อนี้เมื่อชาวต่างประเทศได้ยิน  คงแปลกใจว่า  แล้วโทรศัพท์แบบอื่นคนไทยใช้อะไรถือ  โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันก็พัฒนามาจากวิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ  ทหาร และอาสาสมัครใช้ในการติดต่อสื่อสารกันภายในหน่วยงาน ดังรูปที่ (14)

(14) รูปวิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ ทหาร และอาสาสมัครใช้ติดต่อสื่อสารกัน
      วิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ  ทหารและอาสาสมัครใช้  ไม่สามารถส่งและรับพร้อมกันได้  ดังนั้นในการติดต่อสื่อสารกันตอนจบข้อความจะต้องมีคำลงท้ายว่า”เปลี่ยน “  คำว่า  เปลี่ยน  หมายความว่าให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนพูดบ้าง  และวิทยุโทรศัพท์แบบนี้จะมีศูนย์กลางทำหน้าที่รับและถ่ายทอดสัญญาณไปยังเครือข่ายที่อยู่ใกล้เคียง  ดังรูปที่ (15)

(15) รูปสถานีแม่ข่ายของวิทยุโทรศัพท์ที่ ตำรวจ ทหาร และอาสาสมัครใช้

การประชุมทางไกล
     การสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น(ไม่ได้หมายความว่าคนในปัจจุบันมีความสุขมากขึ้น) ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้ โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมเดียวกันดังรูปที่ (16)

   (16)  การประชุมทางไกลผ่านเครือข่ายสื่อสาร(videoconference)
      และในการประชุมก็ไม่ต้องมีเอกสารเป็นปึกๆเหมือนแต่ก่อน  เพราะว่าเอกสารต่างๆจะอยู่ในรูปแผ่นดิสก์หรืออยู่ในเครือข่ายที่สามารถดึงข้อมูลออกมาได้ทันที ดังรูปที่ (17)

(17) การประชุมที่ใช้ข้อมูลร่วมกันบนเครือข่าย


การสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ต
        เมื่อการสื่อสารด้วยโทรศัพท์มาถึงจุดที่ค่อนข้างจะอิ่มตัว ก็ได้มีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นมาคือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตใน ปัจจุบันเราก็สามารถพูดคุยกับเพื่อนได้ทั่วโลกโดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการใช้โทรศัพท์  นอกจากนี้ก็สามารถใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการจัดการเรียนการสอนผ่านทาง อินเตอร์เน็ตได้  ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต  รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาฟิสิกส์  ส่วนหนึ่งก็มีการจัดเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง  ถ้าท่านผู้อ่านสนใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ตของภาควิชาฟิสิกส์  ก็เปิดมาดูได้ที่ โฮมเพจฟิสิกส์ราชมงคล  http://www.rmutphysics.com   รับรองว่าท่านจะได้อะไรใหม่ๆกับไปบ้าง

 (18) การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของภาควิชาฟิสิกส์
        จากวิวัฒนาการของการสื่อสารที่มีการพัฒนาการอยู่ตลอดเวลาดังที่กล่าวมาแล้ว   ไม่รู้ว่าในอนาคตของการสื่อสารจะพัฒนาไปจนถึงขั้นใช้โทรจิตติดต่อกันหรือไม่    และปัจจุบันมีรายงานการวิจัยออกมาว่า  เราสามารถทำการทดลองเพื่อทำนายความคิดของผู้ถูกทดลองได้   แต่รายงานการวิจัยนี้ผู้เขียนไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่อะไร   เพราะว่าในปัจจุบันก็มีคนที่สามารถรู้ความคิดของคนได้โดยการมองดวงตา  เนื่องจากใครๆก็รู้ว่าดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ   และเชื่อว่าในอนาคตก็อาจจะมีคนประดิษฐ์โทรจิตก็เป็นได้  และหวังว่าคนที่ประดิษฐ์โทรจิตได้เป็นคนแรกน่าจะเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี    และผู้เขียนอยากจะบอกท่านผู้อ่านและนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  ว่า   คำว่าเป็นไปไม่ได้    ไม่ควรจะนำมาใช้บ่อยนัก  เพราะว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่เราเห็นหรือที่เราใช้อยู่ในทุกวันนี้   ก็เคยเป็นสิ่งที่ในสมัยก่อนคิดว่าเป็นไปไม่ได้   ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น  ในสมัยก่อนพูดถึงขอมดำดินก็คงไม่มีใครคิดว่าคนไทยจะสามารถดำดินได้เหมือนขอม    แต่ในปัจจุบันคนไทยก็สามารถดำดินไปโผล่ในที่ต่างๆได้แล้ว  หรือในสมัยรัชกาลที่ 1 ก็คงไม่มีใครคิดว่าเราสามารถคุยคนทุกมุมโลกโลกได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่ต้องเดินทางไปไหนเลย

- ประโยชน์และโทษของการสื่อสาร
ประโยชน์ของเทคโนโลยีทั่วไป
-1 ลดแรงงานคนในการทำงานต่าง ๆ เช่น ควบคุมการผลิต และช่วยในการคำนวน
-2 เพิ่มความสะดวกสะบายตั้งแต่ส่วนบุคคล จนถึงการคมนาคมและสื่อสารทั่วโลก
-3 เป็นแหล่งความบันเทิง
-4 ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐาน เหมือนกันหมดทุดชิ้น ซึ่งอิเฎลเห็นว่าเป็นการลดคุณค่าของชิ้นงาน เพราะ Handmade คืองานชิ้นเดียวในโลก
-5 ลดต้นทุนการผลิต
-6 ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
-7 ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และ เกิดการกระจายโอกาศ
-8 ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้น
-9 ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น
-10 ทำให้เกิดระบบการป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภามมากยิ่งขึ้น
-11 ในกรณีของอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเลือกการผ่อนคลายได้ตามอิสระ
**ข้อ 6-10 อำนวยวิทยาทานโดยคุณ หนูน้อยแสนฉลาด
**
ข้อ 11 อำนวยวิทยาทานโดย อ. จุฬาภรณ์
โทษของเทคโนโลยีทั่วไป
-1 สิ้นเปลืองทรัพยากร เช่น น้ำมัน แก็ส และถ่านหิน จนกระทั้งน้ำ
-2 เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน ให้กลายเป็นวัตถุนิยม (อิเฎลไม่ชอบมาก ๆ)
-3 ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย
-4 ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน
-5 ทำให้เสียเวลา ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก chat
-6 หากใช้เว็ปไซด์จำพวก Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเกิดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก
- รูปแบบการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนการสอน
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกม  เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ  และจูงใจผู้เรียนให้สนใจเรียนรู้เพิ่มขึ้น  เกมอาจจำแนกเป็นเกมที่มีวัสดุประกอบ  เช่น เกมไพ่  เกมบิงโก  เกมอักษรไขว้  เกมกระดานต่าง ๆ  เป็นต้น  และเกมที่ไม่มีวัสดุประกอบ  เช่น เกมทายปัญหา  เกมใบ้คำ  เกมสถานการณ์จำลอง  เป็นต้น  ผู้สอนจึงควรเลือกเกมมาใช้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอน  จุดประสงค์และวัยของผู้เรียน
ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้เกม
พระมหาธราบุญ  คูจินดา  (http://www.pty.ac.th/ptyweb2009/download/Jeopardy gameReseach.doc)  ได้ทำการวิจัยเรื่อง  ประสิทธิผลการสอนทักษะการฟัง  พูด  อ่าน  และเขียนอังกฤษด้วยเกม Jeopardy  พบว่า เกม Jeopardy  ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการฟัง  พูด  อ่านเขียนภาษาอังกฤษได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีเยี่ยม  ผู้เรียนมีความพึงพอใจและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  และได้กล่าวว่า  เกมมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนได้ดังนี้
1.  เกมเป็นสื่อที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคล่องและความสามารถรอบตัวสูง    ช่วยให้ผู้เล่นมีผลสัมฤทธิ์ได้อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านพุทธิศึกษา และจริยศึกษา  และความสามารถด้านการวิเคราะห์  การสังเคราะห์และการประเมินค่า
2.  เกมจะช่วยให้ผู้เล่นพัฒนาพลังความคิดสร้างสรรค์ได้มาก
3.  เกมส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจ  การสื่อสาร  ความสัมพันธ์กับผู้อื่น  และเจตคติทางด้านความกระตือรือร้นที่จะฟังความเห็นผู้อื่น  ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหา
4.  ข้อได้เปรียบสูงสุดของวิธีสอนโดยใช้เกม คือ ความสนุก  ทำให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่ค่อยดี
5.  เกมส่วนใหญ่มักจะใช้พื้นฐานทางวิชาการหลาย ๆ   ด้าน          ซึ่งทำให้ผู้เล่นต้องรู้จักบูรณาการความรู้และทักษะหลาย ๆ ด้านเข้าด้วยกัน
ทิศนา  แขมมณี  (2551 : 368 – 369)  ได้กล่าวว่า  วิธีสอนโดยใช้เกมมีข้อดีและข้อจำกัด  ดังนี้
ข้อดีของวิธีสอนโดยใช้เกม
1.  เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง  ผู้เรียนได้รับความสนุกสนานและเกิดการเรียนรู้จากการเล่น
2.  เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้   โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง   ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและอยู่คงทน
3.  เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนไม่เหนื่อยแรงมากขณะสอน  และผู้เรียนชอบ
ข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยใช้เกม
1.  เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมาก
2.  เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเกม
3.  เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการมาก
4.  เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีทักษะในการนำอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ   จึงจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนประมวลและสรุปการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์
- การประบุกต์ใช้การสื่อสารในการเรียนการสอน
ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา
เทคโนโลยี สารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น 

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ
  •   การ เรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น
  •   อิเล็ก ทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้




  •   วิดีโอ เทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)


  •   ระบบ วิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้
  •   การ สืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

  •   อิน เทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
  •   ประยุกต์ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา
  •   งาน รับมอบตัว ทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานที่นักศึกษานำมารายงานตัว จากนั้นก็จัดเก็บประวัติภูมิหลังนักศึกษา เช่น ภูมิลำเนา บิดามารดา ประวัติการศึกษา ทุนการศึกษา ไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลประวัตินักศึกษา
  •   งาน ทะเบียนเรียนรายวิชา ทำหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กั บนักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน
  •   งาน ประมวลผลการเรียน ทำหน้าที่นำผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
  •   งาน ตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่
  •   งาน ส่งนักศึกษาฝึกงาน ทำหน้าที่หาข้อมูลจากสถานที่ฝึกงาน ในแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับจำนวน นักศึกษาที่จะฝึกงานในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นก็จัดนักศึกษา ออกฝึกงานตามรายวิชา ให้สอดคล้องกับจำนวนที่สถานประกอบการต้องการ
  •   ประยุกต์ใช้ในห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อย
เนื่อง จากห้างสรรพสินค้า เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีอยู่หลายสาขาที่จัดจำหน่ายอยู่ทั่วประเทศ มีซัพพลายเออร์กว่าพันราย และมีพนักงานอยู่หลายพันคน ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการตัดสินใจต้องทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นการที่ต้องใช้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องอ่านบาร์โค้ดจึงมีความจำเป็น
ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นฝ่ายสนับสนุน สิ่งสำคัญที่สุดคือ
เรา ต้องให้ความมั่นใจได้ว่า ระบบจะต้องทำงานได้ไม่มีปัญหาขัดข้อง ปัจจุบันระบบการเชื่อมต่อห้างสรรพสินค้าจะเป็นแบบสอง ลักษณะคือในต่างจังหวัดจะใช้การเชื่อมต่อผ่านดาวเทียม ในกรุงเทพจะใช้การเชื่อมต่อแบบออนไลน์ ซึ่งจะมีการรับส่งข้อมูลกันทุกวัน ในส่วนของไอที นอกจากจะต้องทำให้ระบบ สามารถทำงานได้ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องมั่นใจด้วยว่าข้อมูลที่รับส่งกันนั้นมีความถูกต้อง ซึ่งในแต่ละวันมีข้อมูลมาก ที่จะต้องผ่านการประมวลผลให้แก่ผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยอดขายข้อมูลสต็อกและข้อมูลต่างๆ ที่ ผู้บริหารต้องการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นตรงนี้ได้คะ