หน่วยที่ 4 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
-ประวัติของคอมพิวเตอร์
ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์ได้มาจากแนวความคิดของระบบตัวเลข ซึ่งได้พัฒนาเป็นวิธีการคำนวณต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวณอย่างง่าย ๆ คือ"
กระดานคำนวณ" และ "ลูกคิด"ในศตวรรษที่ 17 เครื่องคำแบบใช้เฟื่องเครื่องแรกได้กำเนิดขึ้นจากนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศษ คือ Blaise Pascal โดยเครื่องของเขาสามารถคำนวณการบวกการลบได้อย่างเที่ยงตรง และในศตวรรษเดียวกันนักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มันคือ Gottried Wilhelm von Leibniz ได้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องแรกที่สามารถคูณและหารได้ด้วย ในต้นศตวรรษที่ 19 ชาวฝรั่งเศษชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พัฒนาเครื่องทอผ้าที่สามารถโปแกรมได้
โดยเครื่องทอผ้านี้ใช้บัตรขนาดใหญ่ ซึ่งได้เจาะรู้ไว้เพื่อควบคุมรูปแบบของลายที่จะปัก
บัตรเจาะรู(punched card) ที่ Jacquard ใช้นี้ได้ถูกพัฒนาต่อๆมาโดยผู้อื่น เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลและโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมา ในศตวรรษเดียวกัน ชาวอังกฤษชื่อ Charles
Babbage ได้ทำการสร้างเครื่องสำหรับแก้สมการโดยใช้พลังงานไอน้ำ เรียกว่า difference engine และถัดจากนั้นได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เมื่อเขาได้ทำการออกแบบ เครื่องจักรสำหรับทำการวิเคราะห์ (analytical engine) โดยใช้พลังงานจากไอน้ำ ซึ่งได้มีการออกแบบให้ใช้บัตรเจาะรูของ Jacquard ในการป้อนข้อมูล ทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้มีหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ครบตามรูปแบบของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ แต่โชคไม่ดีที่แม้ว่าแนวความคิดของเขาจะถูกต้อง แต่เทคโนโลยีในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเครื่องที่สามารถทำงานได้ จริง อย่างไรก็ดี Charles
Babbage ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์คนแรก และผู้ร่วมงานของเขาคือ Augusta Ada Byron ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลกฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปจะมีฮาร์ดแวร์หลักๆ
-ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ ได้ถือกำเนิดมานานหลายสิบปี หลังจากที่ได้เกิดมาแล้ว ก็มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “คอมพิวเตอร์” ไว้อย่างมากมาย
กล่าวโดยสรุปเป็นการให้ความหมายในแง่
ของคอมพิวเตอร์ว่าเป็นเครื่อง
อิเล็คทรอนิกส์ที่ใช้เก็บและประมวลผลข้อมูลที่เป็นทั้ง
ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ตัวอักษร ไปจนถึงเป็น อุปกรณ์ในการใช้ความสามารถทางเครือข่าย
อันได้แก่ระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์
(Computer Network) ได้เป็นอย่างดี
ในบทเรียนขอเสนอความหมายในพจนานุกรมดังต่อไปนี้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า คอมพิวเตอร์ว่า “เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ให้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์”
จากความหมายดังกล่าวข้างต้นจะเห็นว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องสมองกลที่สามารถทำงานด้วย ตนเองได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้คน (People) เป็นผู้สั่งงาน มิฉะนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะไม่ สามารถสั่งงานได้ด้วยตนเอง
-ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
คอมพิวเตอร์นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 4 ส่วนด้วยกัน เริ่มจาก
1.
โปรเซสเซอร์ (Processor) นั่น ก็คือหน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู
(CPU)
นั่นเอง หรือเรียกว่าซิป
ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะว่ามีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา ซึ่งซีพียูนั้นมีรุ่นต่างๆ
ออกมาวางขายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งแต่ละรุ่นก็ราคาแตกต่างกันออกไป
2.
หน่วยความจำ (Memory) หรือ RAM นั่นเอง
ซึ่ง RAM
นั้นเป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรองนั่นเอง ก็คือจะเก็บข้อมูลชั่วคราว ซึ่งหน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์ กำลังทำงานอยู่ด้วย
3.
ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output)ก็ คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง
ๆ เช่น
เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ Output ก็ได้แก่พวก เครื่องพิมพ์ จอภาพ
4.
สื่อจัดเก็บข้อมูล (Storage) นั่นก็คือสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
เช่น ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนอื่นๆ
ต่อไปเรามารู้จักอุปกรณ์คอมพิวเตอร์กันอย่างละเอียดดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
ซึ่งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก็จะประกอบไปด้วยดังนี้
-ประโยชน์คอมพิวเตอร์
จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น
พิมพ์จดหมาย รายงาน
เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล
( word
processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน
ดังต่อไปนี้
1.
งานธุรกิจ
เช่น บริษัท ร้านค้า
ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น
โรงงานประกอบรถยนต์
ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
2.
งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข
สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ หรืองานทะเบียน การเงิน
สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
3.
งานคมนาคมและสื่อสาร
ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น
ไฟสัญญาณจราจร และ
การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
4.
งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ
จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ
เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น
คนงาน เครื่องมือ
ผลการทำงาน
5.
งานราชการ
เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น
กระทรวงศึกษาธิการ
มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี
เป็นต้น
6.
การศึกษา
ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน
CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด
|
|||
-ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบงานของคอมพิวเตอร์ หมายถึง
ผลรวมการทำงาน หน่วยย่อยของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ที่ทำงานอย่างอิสระ แต่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน จนได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
|

หน่วยการทำงานของคอมพิวเตอร์
แบ่งออกเป็น 5 หน่วยคือ 1. หน่วยรับข้อมูลเข้า 2. หน่วยประมวลผลกลาง 3. หน่วยความจำหลัก 4. หน่วยความจำรอง 5. หน่วยส่งข้อมูลออก
|
ภายในหน่วยประมวลกลาง
ประกอบด้วยหน่วยย่อย 3 หน่วยคือ 1. หน่วยควบคุม 2. หน่วยคำนวณ 3. หน่วยความจำความเร็วสูง
|
การรับข้อมูล รับข้อมูลจาก อุปกรณ์รับข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ เม้าส์ ไมโครโฟน ในรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้า และ เปลี่ยนสัญญาณที่ได้เป็นรหัสข้อมูล
หน่วยประมวลผล จะรับข้อมูลเข้าและทำการประมวลผลข้อมูล โดยวิธีการทางคณิตศาสตร์
หน่วยความจำหลัก จะใช้เป็นหน่วยความจำแบบชั่วคราว
โดยใช้เป็นที่พักข้อมูลในระหว่างการประมวลผล
หน่วยความจำรอง จะใช้เป็นที่เก็บข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล สามารถเก็บข้อมูลเป็นรูปแบบถาวรได้
หน่วยแสดงผล จะรับข้อมูลจากการประมวลผล ผ่านช่องทางส่งข้อมูลออก (Output Port) ไปแสดงผลทางจอแสดงผล
|
|
แผงวงจรหลัก ( Main Board ) เป็นแผงวงจรขนาดใหญ่สุดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ เป็นที่ติดตั้งอุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit ) หรือ ซีพียู เป็นอุปกรณ์สำคัญ ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล
หน่วยความจำหลัก
( RAM
) เป็นหน่วยความจำแบบชั่วคราว ใช้เป็นที่พัก
ข้อมูลในระหว่างการประมวลผล
หน่วยความจำรอง ( Secondary Memory ) เป็นหน่วยความจำแบบถาวร ใช้เป็นที่ติดตั้งโปรแกรมระบบ
และโปรแกรมใช้งานอื่น ๆ
CD-ROM เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่อ่าน ข้อมูล จากแผ่นซีดีรอม
และทำการแปลงสัญญาณข้อมูล แล้วส่งไปยังหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์
Flash
Drive (หรือที่หลายคนเรียก Handy Drive, Thumb Drive, USB Drive) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์
|
ฮาร์ดดีส Hard disk เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่สำคัญ ใช้เป็นที่ติดตั้งโปรแกรมระบบ เช่น โปรแกรม Windows และเก็บข้อมูลที่ได้ประมวลผลแล้ว
รอม Rom
เป็นหน่วยความจำชนิดถาวร
โดยถูกเขียนโปรแกรมใส่ไว้จากโรงงานผู้ผลิต
ใบออส BIOS เป็นหน่วยความจำชนิดถาวรโดยถูกโปรแกรมจากบริษัทผู้ผลิต
และยอมให้แก้ไขได้เพียงบางส่วน และจำเป็นต้องใช้แบตเตอรีสำรองตลอดเวลา
|
หน่วยแสดงผลแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1. แสดงผลแบบชั่วคราว เช่น จอแสดงผล ลำโพงขยายเสียง พอปิดระบบแล้วการแสดงผลจะหายไป
2. แสดงผลชนิดถาวร เช่น
เครื่องพิมพ์ และ พรอทเตอร์ การแสดงผลออกมาเป็นกระดาษ หรือแผ่น
|
-องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
|
วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 11:10 น.
|
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน
คือ
1. ฮาร์ดแวร์
(Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
(Case) เมนบอร์ด
(Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง
(Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง
เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์
เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว
ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า
"ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer
System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
2. ซอฟต์แวร์
(Software) หมายถึง โปรแกรม
(Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้อง การ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ใน ทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตาม ต้องการได้
โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น
เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming
Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบ ต่าง ๆ
ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่
ๆ คือ
1) ซอฟต์แวร์ระบบ
(System
Software) เป็น ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม
ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง
ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์
(Application
Software) หมายถึง
ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น
เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ
เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร
การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร
ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
3. ข้อมูล/สารสนเทศ
(Data/Information) คือ
ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น
ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ
ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้
หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ
ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า
ที่ใช้ในแต่ละเดือน
แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ
4. บุคคลากร
(Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ
และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น
มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ
จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ
หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก
เราจึงถือว่าบุคลากร
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ
ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย
ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ
(Operator)
- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ
(System)
- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์
(Electronic
Data Processing Manager)
- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์
(Computer
user)
5. กระบวนการทำงาน
(Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้
ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์
ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจาก นั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน
ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา
ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นตรงนี้ได้คะ